ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข่าวสารการอบรม ฟรี!
dot
bulletสมัครรับข่าวการอบรมฟรี!
dot
แบ่งปันความรู้
dot
bulletบทความทางธุรกิจ
bulletกรณีศึกษาทางธุรกิจ
dot
อบรม รับมือ AEC
dot
bulletการสื่อสารภาษาอังกฤษทางโทรศัพท์อย่างมืออาชีพ
bulletการเขียนอีเมล์ในยุค AEC
dot
อบรม การบริหาร การจัดการ
dot
bulletการบริหารงาน การบริหารคน
bulletจิตวิทยาการประสานงาน-บริหารคน
bulletการสอนงานอย่างมีประสิทธิผล
bulletการจัดการกระบวนการแนวใหม่
bulletความคิดสร้างสรรค์สำหรับการบริหารงาน
dot
อบรม การพัฒนาบุคลากร
dot
bulletการคิดนอกกรอบ ความคิดสร้างสรรค์
bulletการคิดอย่างเป็นระบบ และ การตัดสินใจ
bulletพัฒนาบุคลิกภาพและการสื่อสารในการทำงาน
bulletการบริหาร EQ
bulletเทคนิคการแก้ปัญหา
dot
อบรม การขาย การบริการ
dot
bulletเทคนิคการขายขั้นสูง
bulletกลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
bulletบริการและสื่อสารให้ประทับใจลูกค้า
bulletกลยุทธ์ขั้นสูงเพื่อการเจรจาต่อรอง
dot
สมาชิก
dot
bulletสมัครสมาชิก
bulletสิทธิประโยชน์สมาชิก
bulletหัวข้ออบรม-สัมมนาที่ต้องการให้เราจัด
bulletโหวตวันที่คุณสะดวกอบรม
dot
เกี่ยวกับเรา
dot
bulletร่วมงานกับเรา
bulletแนะนำวิทยากรกับเรา
bulletติดต่อเรา




เจนเนอเรชั่นวาย...ทำไมน่าสนใจ? article

 

                ในฐานะคนรุ่น “กลางเก่ากลางใหม่” คนหนึ่งเริ่มสังเกตเห็นว่า ในองค์การมีคนทำงานที่หลากหลายมากขึ้น และบ่อยครั้งที่มักได้ยินคำปรารภจากคนวัยใกล้เคียงกันถึงเพื่อนร่วมงานที่อาวุโสน้อยกว่า พูดง่ายๆ คือ “เด็กกว่า” นั่นเอง ที่น่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งคือ คำปรารภเหล่านี้จะคล้ายๆ กัน แม้ว่าผู้พูดจะอยู่คนละองค์การและไม่เคยเจอกันมาก่อน ในทำนองที่ว่า

                “เด็กรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้ทำงานไม่อดทน ใจไม่สู้เหมือนพวกเราเลย”
            “วันๆ เอาแต่โทรศัพท์คุยกับเพื่อน โทรกันได้เป็นชั่วโมงๆ” 
หรือไม่ก็...
            “เล่นคอมพิวเตอร์ทั้งวัน...”
 หรือบางที
            “ไม่มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ บอกอะไรก็ย้อนถาม ไม่มีเกรงใจกันบ้าง”
 
                เบื้องหลังคำปรารภเหล่านี้ คือ ความไม่เข้าใจ ความผิดหวัง ที่อีกฝ่ายไม่ได้เป็นอย่างที่ผู้พูดคิด นานวันเข้าก็อาจบ่มเพาะเป็นความไม่พอใจซึ่งกันและกัน เป็นความขัดแย้ง หรืออาจกลายเป็นปัญหาการทำงานร่วมกันในที่สุด  
“ความเข้าใจต่อความแตกต่างของบุคลากร” เป็นแนวคิดการบริหารยุคใหม่ที่กล่าวถึงการบริหารความแตกต่างของบุคลากร หรือ Diversity ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ก็ได้กล่าวถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่ต้องคำนึงถึงความต้องการและความหลากหลายของบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างด้านเพศ การศึกษา รวมทั้งอายุ และกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากในหลายด้าน ตั้งแต่การตลาดจนถึงการบริหารบุคลากร
 
เจนเนอเรชั่นในองค์การ
                ก่อนอื่นเราควรรู้จักกับคนรุ่นต่างๆ หรือที่เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า เจนเนอเรชั่น (Generation) ในองค์การที่ดำเนินงานมาระยะหนึ่ง ท่านอาจสังเกตเห็นความแตกต่างของคนทำงาน เรามักพูดกันสั้นๆ ว่า “คนรุ่นเก่า” กับ “คนรุ่นใหม่” และมักแบ่งกลุ่มกันโดยมองเรื่องอายุคนเป็นเกณฑ์มากกว่าอายุงาน ถ้าจะแบ่งกลุ่มคนทำงานตามช่วงอายุให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นักวิชาการและนักเขียนจำนวนมากได้ใช้แนวทางการแบ่งกลุ่มคนตามแนวคิดตะวันตก แบ่งคนทำงานออกเป็น 3 กลุ่มตามช่วงอายุและคุณลักษณะเด่น ได้แก่
·        เบบี้บูมเมอร์ส (Baby Boomers)
                คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี ค.ศ.1946-1964 (พ.ศ. 2489-2507) หรือประมาณช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา อายุประมาณ 40-60 ปี เป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ลักษณะนิสัยมักยึดมั่น ไม่เปลี่ยนแปลงความคิดง่ายๆ บางครั้งจึงถูกมองว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยม หรือไม่ก็หัวเก่าไปเลย ให้ความสำคัญกับผลงานแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ บางคนมีความทุ่มเทกับการทำงานและองค์การมาก
·        เจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Generation X) 
                มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น Baby Buster, Slacker เป็นกลุ่มประชากรที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1965-1976 (พ.ศ. 2508-2519) อายุประมาณปลาย 20 ถึงเฉียด 40 อุปนิสัยชอบเสี่ยง ยินดีรับการเปลี่ยนแปลง ใช้เทคโนโลยีในการทำงานได้ดี   ให้ความสำคัญต่อสัมพันธภาพทั้งเพื่อนร่วมงานและครอบครัว   เจนเนอเรชั่นเอ็กซ์บางคนมีวิถีชีวิตแบบยัปปี้ (Yuppy) ใช้จ่ายเงินเพื่อความสุขของชีวิต ซื้อหาสิ่งของที่หรูหรามากกว่าพวกเบบี้บูมเมอร์ส
·        เจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y)
                ชื่อที่เรียกคนเจนเนอเรชั่นนี้ ได้แก่ Y – Why, Generation Next, Echo Boom, Digital Generation อายุระหว่าง 11-25 ปี นักวิชาการบางท่านให้ช่วงอายุของเจเนอเรชั่นวายถึง 28 ปีก็มี คือเกิดระหว่าง ค.ศ. 1977-1994 (พ.ศ. 2520-2537) จากการรวบรวมของ Ron Zemke พบว่า เจนเนอเรชั่นอื่นมักมีมุมมองต่อภาพลักษณ์ของเจเนอเรชั่นวาย เริ่มต้นในด้านไม่ค่อยดีเท่าไร เช่น 
                                “ต้องอดทนมากกว่านี้”
                        “ดูทีวีที่มีภาษาไม่สุภาพและความรุนแรงมากเกินไป”
                        “พ่อแม่ต้องกวดขันพวกนี้ให้มากขึ้น”
                        “น่ารัก”
                        “ตั้งเวลาบน VCR ได้ด้วย!”
                        “ทำเวบเพจให้ได้ไหม”
สิ่งที่เจนเนอเรชั่นอื่นไม่ค่อยชื่นชอบเจนเนอเรชั่นวาย มักเป็นเรื่องบุคลิกภาพ การแสดงออก แต่จะยอมรับในเรื่องความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ลักษณะนิสัยและการแสดงออกของเจนเนอเรชั่นวายยังมีลักษณะเป็นพวก Hip-Hop ต้องการทราบเหตุผลว่า “ทำไม” ต้องทำเช่นนั้น มีวัฒนธรรมเป็นแบบสากลมากกว่ารุ่นอื่น ติดวิดีโอเกม เชื่อมั่นในตนเองสูง บ้างก็ถูกมองว่าเป็นคนที่เอาแต่ใจตนเอง เห็นแก่ตัว เป็นพวกชอบสร้างปัญหา
การสนใจเทคโนโลยีอย่างมาก ทำให้เจนเนอเรชั่นวายกลายคนที่ “ฉลาด” และเป็นผู้คอยแก้ปัญหา เพราะพวกเขาทราบว่าจะค้นหาข้อมูลได้จากที่ใด เวลาไหน และทำได้อย่างรวดเร็ว เจเนอเรชั่นวายจะมีความสามารถในการทำงานหลายด้านที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และสื่อหลายประเภท และยังสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน
 
เจนเนอเรชั่นวายในเมืองไทย
                มาดูในเมืองไทยกันบ้าง เจนเนอเรชั่นวายของไทยมีลักษณะหลายประการที่ทั้งเหมือนและแตกต่างจากนักวิชาการตะวันตก สิ่งหนึ่งที่ทำให้เจนเนอเรชั่นวายของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับเจนเนอเรชั่นวายในอเมริกาหรือตะวันตก มาจากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ตลอดจนความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การได้รับข้อมูล การดูภาพยนตร์และฟังเพลงตะวันตก ทำให้เจนเนอเรชั่นวายของไทยมีทัศนคติและพฤติกรรมที่เป็นตะวันตกมากขึ้น
จากการวิจัยของณัฐวุฒิ ศรีกตัญญู เรื่อง “รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรบสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของเจนเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร” พบว่า เจนเนอเรชั่นวายเปิดรับสื่อมากขึ้น ชอบเล่นกีฬา อยากมีอนาคตที่ดี ทราบความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและยาเสพติด ใช้เสื้อผ้ากีฬาและยีนส์ มีลักษณะตาม “นิยาม” ของนักการตลาดในเมืองไทย คือ ชอบฟังเพลง ตามแฟชั่น   ใช้เสื้อผ้าจากต่างประเทศ ต้องการสิทธิเสรีภาพและการยอมรับจากสังคม เล่นเกมคอมพิวเตอร์เป็นงานอดิเรก บางคนก็เล่นเอาจริงเอาจังไม่หลับไม่นอน จนนักวิชาการไทยบางท่านขนานนามว่าเป็น“เจนเนอเรชั่นนินเทนโด” ตามชื่อบริษัทเกมรายแรกของญี่ปุ่นก็มี 
โทรศัพท์มือถือ นับเป็นอุปกรณ์สำคัญประจำกายของเจนเนอเรชั่นวาย พอๆ กับการใช้อินเทอร์เน็ต เจนเนอเรชั่นวายบางคนบอกกับผู้เขียนว่า ตื่นเช้าขึ้นมาต้องเปิดคอมพิวเตอร์เพื่อเช็คอีเมล์ วันไหนเน็ตล่ม (สำนวนของเขาล่ะ) จะรู้สึกหงุดหงิดไปทั้งวัน เหมือนกับวันไหนถ้าลืมพกโทรศัพท์มือถือ จะรู้สึกเหมือนถูกตัดขาดจากสังคมยังไงยังงั้น 
               
ทำไมต้องสนใจด้วย?
                ท่านอาจสงสัยเช่นนั้น จากรายงานการสำรวจเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2545 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สรุปว่า ประชากรร้อยละ 17.8 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ หรือจำนวน 11.3 ล้านคน เป็นกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี เป็น “คนกลุ่มใหญ่” ที่เริ่มเข้าสู่การทำงาน มีรายได้ของตนเอง และจัดเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่ที่นักการตลาดให้ความสนใจกับวิถีชีวิตและพฤติกรรมด้านการรับสื่อของพวกเขาอย่างมาก เพื่อใช้พัฒนาสินค้าและบริการเฉพาะกลุ่ม
                เจนเนอเรชั่นวายเริ่มเข้าสู่การทำงานในองค์การมากขึ้น พวกเขามีพฤติกรรมและความต้องการด้านการทำงานในแบบฉบับของตนเอง ซึ่งจะแตกต่างจากบุคลากรเจนเนอเรชั่นอื่นในองค์การ
นักวิชาการตะวันตกได้รวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบเจนเนอเรชั่นต่างๆ ในที่ทำงาน (ตารางที่ 1) ทำให้ทราบถึงอุปนิสัยและความต้องการในการทำงานที่แตกต่างกัน ทั้งนักวิชาการและนักบริหารบุคคลของตะวันตกต่างก็ให้ความสนใจต่อความแตกต่างนั้น เพื่อนำไปบริหารด้านการจัดงาน สวัสดิการ การฝึกอบรมและพัฒนา ให้สอดคล้องกับลักษณะของคนแต่ละรุ่น
 
ตารางที่ 1 เจนเนอเรชั่นในที่ทำงาน
 

เจนเนอเรชั่น
คุณลักษณะ
ลักษณะการทำงาน
งานที่พึงพอใจ
Baby Boom
 
 
 
 
 
·    ยึดมั่น ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย
·    ให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์
·    อนุรักษ์นิยม
 
·    มีชีวิตเพื่อทำงาน
·    สู้งาน ชอบทำงาน
·    ไม่ค่อยเปลี่ยนงาน
·    ภักดีต่อองค์การ
·    อดทน
·    ต้องการงานที่มีความมั่นคง
·    เคารพกฎเกณฑ์ กติกา
·    มีความมั่นคง
·    งานที่อาศัยความเชี่ยวชาญชำนาญเชิงลึก
·    มีการเลื่อนตำแหน่ง
 
X
 
·    ชอบเสี่ยง ยินดีรับการเปลี่ยนแปลง
·    ใช้เทคโนโลยี
·    ให้ความสำคัญต่อสัมพันธภาพ
·    ใช้ชีวิตแบบยัปปี้ (Yuppy)
·    ทำงานเพื่อให้มีชีวิตที่สุขสบายตามใจตนเอง
·    ต้องการความยืดหยุ่นในชีวิต
·    ทุ่มเทเมื่อเห็นว่าท้าทาย
·    เปลี่ยนงานง่าย เป็น Job Hopper
 
 
·    ท้าทาย
·    งานที่ใช้ทักษะหลากหลาย
·    การทำงานเป็นก้าวหนึ่งของการไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
·    สร้างสัมพันธภาพที่ดีได้
·    มีความรู้ใหม่ๆ
·    อิสระในการเลือกสถานที่และเวลาทำงาน
·    ต้องการทราบมุมมองและแง่คิดในการทำงานจากผู้อื่น
·    มีค่าตอบแทนสูง
Y
·    Hip-Hop
·    ต้องการทราบเหตุผลว่า “ทำไม” ต้องทำเช่นนั้น
·    มีความเป็นสากล
·    ติดวิดีโอเกม
·    เชื่อมั่นในตนเองสูง
·    ปรับตัวเก่งและมีความคิดริเริ่ม
·    มีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีเก่ง
·    มุ่งมั่น แต่บางครั้งไม่อดทน
·    ไม่ผูกพันต่อองค์การ
·    ไม่สนใจเรื่องอาวุโส
·    ช่างสงสัย
·    ใช้เทคโนโลยี Wi-Fi
·    บริหารจัดการตนเองได้
·    งานที่มีความสนุกสนาน
·    มีเวลาพักผ่อน
·    ต้องการความจริง
 
 
 

 
                สำหรับ “เจนเนอเรชั่นวายในที่ทำงาน” ตามการศึกษาวิจัยของผู้เขียนพบว่า เจนเนอเรชั่นวายในสถานที่ทำงาน หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างดี มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ต้องการทำงานที่มีความก้าวหน้า สามารถแสดงความคิดเห็นและบริหารจัดการด้วยตนเอง ทั้งในเรื่องเวลาและสถานที่ ให้ความสำคัญต่อสัมพันธภาพที่ดีในการทำงาน
นอกจากนี้ เจนเนอเรชั่นวายบางคนยังบอกว่า พวกเขาต้องการงานที่มีความท้าทาย และขอเลือกวิธีปฏิบัติงานด้วยตนเอง พวกเขามักอึดอัดเมื่อไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น หรือเมื่อความคิดเห็นของพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับจากหัวหน้างาน เจนเนอเรชั่นวายจะพอใจอย่างมากถ้าสามารถเลือกเวลาทำงานตามความสะดวกของตนเอง หรือทำงานจากสถานที่อื่นได้ เช่น ที่บ้าน หรือนอกสถานที่ทำงาน โดยยึดผลงานตามกำหนดเวลา สิ่งที่พวกเขาไม่ชอบอย่างมาก คือ ระเบียบวินัยที่มากเกินไป เช่น ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างทำงาน ห้ามใช้คอมพิวเตอร์ในเรื่องส่วนตัว ฯลฯ เจนเนอเรชั่นวายบางคนสามารถลาออกจากงานทันทีโดยไม่ต้องรอสมัครงานใหม่ เธอบอกว่า ถ้าไม่ชอบ ไม่สบายใจ ก็ลาออกดีกว่าทนอยู่ แล้วต้องลางานไปสัมภาษณ์ที่ใหม่ เกรงใจ!  Eric Chester นักเขียนและนักพูดเกี่ยวกับเจนเนอเรชั่นวาย บอกว่า เจนเนอเรชั่นวายไม่สนหรอกถ้าจะถูกไล่ออก ผู้จัดการบางคนไม่มีโอกาสนั้นด้วยซ้ำ เพราะพวกเขาไปเสียก่อน
                ท่านเห็นไหมว่า เจนเนอเรชั่นวายมีความสามารถด้านเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายองค์การต่างก็ต้องการเพื่อสร้างนวัตกรรม แต่ความเป็นตัวของตัวเองสูงและมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนเจนเนอเรชั่นอื่น อาจทำให้การบริหารทรัพยากรบุคคลไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป ท่านในฐานะผู้ที่สนใจการบริหารทรัพยากรบุคคล ได้เตรียมพร้อมรับคนรุ่นใหม่ในองค์การของท่านหรือยัง?           
 

รัชฎา   อสิสนธิสกุล   และอ้อยอุมา รุ่งเรือง




บทความทางธุรกิจ

ฟังเสียงสุดยอดแชมป์ 11 องค์กรรางวัลคุณภาพแห่งชาติ 2553
กลยุทธ์ 'Box Zone'แจ้งเกิด คอมมูนิตี้มอลล์ คนเมือง
4ไม่ - หลักการเรียนรู้ & รับฟัง
'ซีอีโอ' โหวต 10 เทรนด์ธุรกิจปี 2554
สูตรลับปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างได้ผล
Below the line ยุทธวิธีพิชิตใจลูกค้า article
ตั้งราคาเพื่อเอาชนะ article
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ article
การจับลูกค้าให้อยู่หมัด article
การตลาดแนวคิดใหม่ ด้วยกลยุทธ์ 4C's article
เข้าให้ถึงจิตใจลูกค้า ก่อนวางแผนกลยุทธ์การตลาด article
8 วิธีเพิ่มยอดขายด้วยการเป็นมิตรกับลูกค้า article



Copyright © 2009-2024 All Rights Reserved.
อบรมธุรกิจ อบรมการบริหาร อบรมกลยุทธ์ อบรมแผนการตลาด อบรมด้านบริการ อบรมเทคนิค โดยศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางธุรกิจ