ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข่าวสารการอบรม ฟรี!
dot
bulletสมัครรับข่าวการอบรมฟรี!
dot
แบ่งปันความรู้
dot
bulletบทความทางธุรกิจ
bulletกรณีศึกษาทางธุรกิจ
dot
อบรม รับมือ AEC
dot
bulletการสื่อสารภาษาอังกฤษทางโทรศัพท์อย่างมืออาชีพ
bulletการเขียนอีเมล์ในยุค AEC
dot
อบรม การบริหาร การจัดการ
dot
bulletการบริหารงาน การบริหารคน
bulletจิตวิทยาการประสานงาน-บริหารคน
bulletการสอนงานอย่างมีประสิทธิผล
bulletการจัดการกระบวนการแนวใหม่
bulletความคิดสร้างสรรค์สำหรับการบริหารงาน
dot
อบรม การพัฒนาบุคลากร
dot
bulletการคิดนอกกรอบ ความคิดสร้างสรรค์
bulletการคิดอย่างเป็นระบบ และ การตัดสินใจ
bulletพัฒนาบุคลิกภาพและการสื่อสารในการทำงาน
bulletการบริหาร EQ
bulletเทคนิคการแก้ปัญหา
dot
อบรม การขาย การบริการ
dot
bulletเทคนิคการขายขั้นสูง
bulletกลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
bulletบริการและสื่อสารให้ประทับใจลูกค้า
bulletกลยุทธ์ขั้นสูงเพื่อการเจรจาต่อรอง
dot
สมาชิก
dot
bulletสมัครสมาชิก
bulletสิทธิประโยชน์สมาชิก
bulletหัวข้ออบรม-สัมมนาที่ต้องการให้เราจัด
bulletโหวตวันที่คุณสะดวกอบรม
dot
เกี่ยวกับเรา
dot
bulletร่วมงานกับเรา
bulletแนะนำวิทยากรกับเรา
bulletติดต่อเรา




ความสำเร็จของ Dell

กรณีศึกษาของ Dell นั้นถือว่าเป็นตัวอย่างของกรณีศึกษาทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่ใช้สอนกันโดยทั่วไปในระดับ MBA

ประวัติของบริษัทก็เหมือนกับบริษัททางด้านคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันดี ผู้ก่อตั้งคือ Michael Dell ที่ในขณะที่เรียนปริญญาตรีก็เริ่มซื้อชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์มาประกอบขายจนมีรายได้ดีและมองเห็นลู่ทางในการเติบโตจนต้องลาออกมาจากมหาวิทยาลัยเพื่อมาทำธุรกิจประกอบและขายคอมพิวเตอร์
สิ่งที่ทำให้ Dell ประสบความสำเร็จและโดดเด่นกว่าผู้ประกอบและขายคอมพิวเตอร์รายอื่นๆก็คือแนวคิดทางธุรกิจ (Business Model) ที่มีความแตกต่างจากเจ้าเดิมๆในขณะที่ผู้ประกอบและขายคอมพิวเตอร์เจ้าเดิมๆ นั้นใช้กลยุทธ์ make-to-stock ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนที่สูงและกำไรที่ต่ำ
 
แต่ Dell กลับใช้วิธีการที่เรียกว่า make-to-order การผลิตตามคำสั่งซื้อ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนของ Dell ถูกกว่าคู่แข่งและในขณะเดียวกันลูกค้าก็ได้รับสินค้าตามที่ตนเองต้องการ
make-to-stock นั้นคือผู้ผลิตจะทำการพยากรณ์ความต้องการของผู้ซื้อว่ามีอยู่เท่าใด ในลักษณะใดบ้างหลังจากนั้นก็ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วส่งไปจัดเก็บที่คลังสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังผู้แทนจำหน่ายอีกทีหนึ่ง
ท่านผู้อ่านอย่าลืมว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องมีชิ้นส่วนและองค์ประกอบมากมาย การ make-to-stock นั้นเหมือนกับการยัดเยียดสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วให้กับผู้บริโภคโดยตัวผู้บริโภคเองอาจจะต้องการหรือไม่ต้องการชิ้นส่วนบางอย่างในเครื่องนั้นก็ได้
 
นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นตกรุ่นได้ง่ายถ้าผู้ผลิตคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภคผิดไปก็จะทำให้เหลือสินค้าที่ขายไม่ออกอยู่เยอะส่งผลต่อต้นทุนที่เพิ่มพูนสูงขึ้น
 
ส่วนแนวคิดแบบ make-to-order นั้นผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ของ Dell ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (หรือผ่านพนักงานขายโดยตรง)สามารถที่จะเลือกส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์ตามที่ตนเองต้องการคำสั่งซื้อนั้นจะถูกส่งไปที่ Dell ซึ่งทาง Dell ก็จะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งซื้อของผู้บริโภคและจัดส่งคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้บริโภคสั่งซื้อกลับไปให้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
 
ดังนั้นแทนที่เมื่อประกอบคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วจะต้องมีคลังสินค้าเอาไว้เก็บและส่งไปยังผู้แทนจำหน่ายอีกที ก็ไม่ต้อง เนื่องจาก Dell สามารถส่งสินค้าตรงไปยังผู้บริโภคได้โดยตรงทำให้ลดต้นทุนในการจัดเก็บและต้นทุนที่เสียให้กับผู้แทนจำหน่ายนอกจากนั้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ Dell ประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาตามความต้องการของลูกค้าโดยตรง ทำให้ Dell ไม่ประสบกับปัญหาที่ประกอบออกมาแล้วขายไม่ได้ ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนที่ต่ำของ Dell
 
และในขณะเดียวกันลูกค้าของ Dell เองก็ได้รับคอมพิวเตอร์ตามที่ตนเองต้องการไม่ต้องจ่ายแพงกว่าเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการ พูดง่ายๆ ว่า แนวทางของ Dell นั้นมีประโยชน์ทั้งขึ้นและล่อง นั้นคือทำให้ต้นทุนของบริษัทต่ำกว่าของคู่แข่งและในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้บริโภคมีความพอใจต่อสินค้าที่ได้รับมากขึ้น
จริงๆ แล้ววิธีการของ Dell ไม่ได้ง่ายเพียงแค่ที่เขียนมาข้างต้นเนื่องจากจะต้องมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ระบบการจัดส่ง (Logistics) ที่สมบูรณ์ระบบการบริหารวัตถุดิบแบบ Just-in-Time (JIT)
 
หรือแม้กระทั่งความพร้อมและความร่วมมือของผู้ที่เป็น Suppliers คู่แข่งของ Dell หลายเจ้าก็พยายามลอกเลียนรูปแบบทางธุรกิจ แต่ก็ไม่มีใครทำได้สำเร็จเนื่องจากสาเหตุที่ต่างกันออกไป รูปแบบทางธุรกิจของ Dell เรียกได้ว่าเปลี่ยนโฉมหน้าของธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC) อย่างมโหฬารเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ที่เคยได้เปรียบในการแข่งขันให้กลายมาเป็นผู้เสียเปรียบไปเลย
ในปัจจุบัน Dell เป็นผู้ประกอบและขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอันดับหนึ่งทั่วโลกและคงยากที่จะมีใครมาโค่นลงได้ ขณะเดียวกันก็คิดว่าคงไม่มีใครอยากจะมาแข่งกับ Dell ในธุรกิจนี้เท่าใด จะสังเกตเห็นว่าในปัจจุบันกลยุทธ์ของคู่แข่งสำคัญอย่างทั้ง IBM และ Compaq (หรือ HP) ได้หันไปให้ความสนใจต่อด้านอื่นมากกว่าเพียงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
 
ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบธุรกิจของ Dell ที่ทำให้สามารถประกอบและขายเครื่องได้ถูกกว่าชาวบ้านเขาตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารก็คงยากที่จะมีใครโค่น Dell จากตำแหน่งผู้นำในวงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลลงได้
นอกจากนี้ในปัจจุบันธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเรียกว่าอยู่ในขาลง ใน 2-3 ปีที่ผ่านมายอดขายเริ่มลดลงจากในอดีตและในขณะเดียวกันเวลาเฉลี่ยกว่าที่จะเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ขององค์กรธุรกิจต่างๆก็ยาวขึ้นเป็น 41 เดือน ส่วนของผู้บริโภคตามบ้านก็อยู่ที่ประมาณ 5 ปีแสดงว่าช่วงระยะเวลากว่าที่จะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่นานขึ้นกว่าปกติ
 
อีกทั้งยังไม่มีสินค้าหรือนวัตกรรมใหม่ๆที่ออกมาจากทั้ง Intel และ Microsoft ที่จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อคอมพิวเตอร์ขึ้นมาได้ในปัจจุบันการขายเครื่องนั้นมักจะเน้นแข่งขันกันที่ราคาเป็นหลักก็เรียกได้ว่าเข้าทางของ Dell เขาเลยทีเดียวเพราะไม่มีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ระดับโลกเจ้าใดอีกแล้วที่มีรูปแบบของธุรกิจที่ต้นทุนถูกกว่าของ Dell
 
นอกจากนี้กลยุทธ์อีกหลายอย่างของ Dell ก็น่าสนใจทั้งกลยุทธ์การเติบโตและกลยุทธ์การแข่งขันในปัจจุบันหลังจากที่ตลาดคอมพิวเตอร์ในอเมริกาและส่วนอื่นของโลกเริ่มอิ่มตัว Dell ก็หันไปบุกตลาดจีนอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันยอดขายของ Dell ในจีนยังเป็นที่สามอยู่แต่ Dell มุ่งมั่นกับตลาดจีนมากถึงขนาดตัดสินใจไปเปิดโรงงานประกอบคอมพิวเตอร์ในจีนทีเดียว
 
นอกจากนี้ Dell เองก็เริ่มมองการมุ่งเน้นอยู่แต่ธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคงไม่พอต่อการเติบโตในอนาคตทำให้ในปัจจุบันได้ทำการขยายเข้าสู่อีกหลายธุรกิจ ทั้ง Servers, Storage, PDA, Printer หรือแม้กระทั่งเริ่มเมียงมองเข้าสู่ธุรกิจการให้คำปรึกษาในการวางระบบด้วย
 
ส่วนกลยุทธ์ในการแข่งขันของ Dell นั้นก็น่าสนใจ Dell ไม่ได้มุ่งเน้นในเรื่องของนวัตกรรมในตัวสินค้ามากเหมือนคู่แข่งรายอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีสินค้าหรือนวัตกรรมใหม่ Dell จะไม่รีบกระโจนไปผลิตแต่จะรอให้นวัตกรรมใหม่นั้นเริ่มที่จะเป็นที่ยอมรับและอยู่ตัวก่อนค่อยส่งผลิตภัณฑ์ของตนเองเข้าสู่ตลาดแต่ด้วยราคาที่ถูกกว่าชาวบ้านและคุณภาพสินค้าที่ไม่แตกต่างกัน
เช่น ในกรณีของคอมพิวเตอร์แบบพกพา (PDA) ที่ Dell ปล่อยให้เจ้าอื่น ทำตลาดไปก่อน แล้วเพิ่งออกสินค้าของตัวเองเมื่อปลายปีที่ผ่านมาแต่ด้วยราคาที่ถูกกว่าคนอื่น
 
ความสำเร็จของ Dell นั้นเกิดขึ้นจากการคิดค้นรูปแบบทางธุรกิจที่แตกต่างจากคู่แข่งและทำให้ตนเองเกิดความได้เปรียบ เหนือคู่แข่งรายอื่นๆ โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนขณะเดียวกัน Dell ก็ไม่ละเลยต่อการกำหนดกลยุทธ์ ในการเติบโตต่อไปในอนาคตและการยึดมั่นต่อกลยุทธ์ในการแข่งขันที่ทำให้ตนเองประสบความสำเร็จ
 

มองมุมใหม่ :ผศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์   กรุงเทพธุรกิจ  




กรณีศึกษาทางธุรกิจ

CSR & HR หน้าร้านถึงก้นครัว 'ไทยเบฟ'
รุ่นสาม 'ซีคอน กรุ๊ป' คิดใหม่ทำใหม่
Guerrilla Marketing: กรณีศึกษา “เถ้าแก่น้อย”
Brand Audit: กรณีศึกษาบริษัท AIS
"ธรรมะ" ฝ่าวิกฤตอังกฤษตรางู
กลยุทธ์กาแฟสีเขียว
“โตโยต้า” พลาดท่า เพราะ การจัดการ



Copyright © 2009-2024 All Rights Reserved.
อบรมธุรกิจ อบรมการบริหาร อบรมกลยุทธ์ อบรมแผนการตลาด อบรมด้านบริการ อบรมเทคนิค โดยศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางธุรกิจ